การรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายด้วย “การปลูกถ่ายไต” (ตอน 1)




“ไต” เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายถั่ว อยู่นอกเยื่อบุช่องท้องบริเวณชายโครงด้านหลัง มี 2 ข้าง คือ ไตซ้ายและไตขวา ไตมีหน้าที่กรองเลือดเพื่อผลิตน้ำปัสสาวะ กำจัดของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย รักษาสมดุลของกรด-ด่าง ช่วยรักษาสมดุลของความดันโลหิต ผลิตฮอร์โมนบางชนิด เป็นต้น

ไตวายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไตวายเฉียบพลัน และไตวายเรื้อรัง ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงไตวายเรื้อรังที่ต้องรักษาด้วย “การปลูกถ่ายไต” เท่านั้น

“ไตวายเรื้อรัง” คือ การที่ไตสูญเสียหน้าที่การกรองเลือด เพื่อกำจัดน้ำและของเสียออกจากร่างกายสาเหตุของไตวายเรื้อรังมีหลายสาเหตุ แต่ที่พบมากที่สุด 2 อันดับแรก คือ ภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ไตวายเรื้อรังแบ่งออกเป็น 5 ระยะ ตามอัตราการกรองของหน่วยไต ดังนี้

ไตวายเรื้อรังระยะท้าย คือ ไตวายระยะที่ 5 เมื่ออัตราการกรองของหน่วยไตมีค่าน้อยกว่า 15ml/min ซึ่งระยะนี้ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาด้วยการฟอกไต หรือการปลูกถ่ายไต

การรักษาไตวายเรื้อรังระยะท้าย (ระยะที่ 5)

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายทุกรายจะต้องได้รับการรักษาที่เรียกว่า “การบำบัดทดแทนไต” มี 2 วิธี ดังนี้

1. การฟอกไต แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

     1.1 การฟอกไตด้วยการฟอกเลือด

     1.2 การฟอกไตผ่านทางหน้าท้อง

การฟอกไตนับว่าเป็น “การรักษาแบบประคับประคองอาการ” เท่านั้น

2. การปลูกถ่ายไต เป็นการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ดีที่สุด

การปลูกถ่ายไต คืออะไร

“การปลูกถ่ายไต” คือ กระบวนการผ่าตัดปลูกถ่ายไตที่คุณภาพดีจากผู้บริจาคที่มีชีวิต หรือผู้บริจาคไร้ชีพให้กับผู้ป่วยที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ต่อได้

ผู้บริจาคที่มีชีวิต

ในประเทศไทยผู้บริจาคอวัยวะที่มีชีวิตอาศัยตามระเบียบสภากาชาดไทยปี 2545 ดังนี้

ข้อ 49 ผู้บริจาคต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือด ดังนี้

     49.1 บิดาหรือมารดา บุตรหรือธิดา ตามธรรมชาติ พี่ น้องที่เกิดจากบิดามารดาเดียวกันที่สามารถพิสูจน์ได้ทางกฎหมาย หรือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น HLA และหรือ DNA จากบิดา มารดา

     49.2 ลุง ป้า น้า อา หลาน (หมายถึง ลูกของพี่หรือน้องที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเดียวกันหรือครึ่งหนึ่ง เช่น พี่น้องต่างบิดาหรือมารดา ในกรณีนี้จะต้องมีการพิสูจน์ว่าผู้บริจาคและผู้รับอวัยวะมี DNA และ/หรือ HLA ที่มีความสัมพันธ์กัน
ในกรณีที่มีปัญหา ให้คณะอนุกรรมการวิชาการศูนย์รับบริจาคอวัยวะเป็นผู้พิจารณา

ข้อ 50 ผู้บริจาคเป็นคู่สมรส โดยมีหลักฐานการจดทะเบียนสมรสจนถึงวันผ่าตัดปลูกถ่ายไตไม่น้อยกว่า 3 ปี ยกเว้นกรณีที่มีบุตรหรือธิดาร่วมกัน ซึ่งหากมีปัญหาในการพิสูจน์บุตรธิดา ให้ใช้ DNA และ/หรือ HLA เป็นเครื่องพิสูจน์

ผู้บริจาคไร้ชีพ (deceased donor)

ในบริบทของประเทศไทย ผู้บริจาคไร้ชีพจะขอกล่าวถึงเฉพาะผู้บริจาคสมองตายเท่านั้น

“ภาวะสมองตาย (brain death)” คือ การที่แกนสมองถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไป ในทางการแพทย์จะถือว่าผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตาย คือ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้ว

ผู้ป่วยสมองตายที่จะสามารถบริจาคอวัยวะได้จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้บริจาคก่อนมีภาวะสมองตาย หรือหากมีภาวะสมองตายแล้วต้องได้รับการยินยอมจากญาติสายตรง และจะต้องไม่มีข้อห้ามการบริจาคอวัยวะ

ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายอวัยวะจะเป็นผู้ดำเนินการผ่าตัดนำอวัยวะออก เพื่อเก็บรักษาไว้ในน้ำยาถนอมอวัยวะแล้วนำไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยต่อไป

สิทธิการเข้าถึงการรักษาการปลูกถ่ายไต

ปัจจุบันผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้าย สัญชาติไทย สามารถเข้าถึงบริการการปลูกถ่ายไตได้ทุกสิทธิการรักษา โดยแบ่งได้ดังนี้

1. สิทธิราชการ

2. สิทธิประกันสังคม

3. สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง, สิทธิ 30 บาท)

4. สิทธิพนักงานรัฐวิสาหกิจ

ข้อดีของการปลูกถ่ายไต มีดังนี้

1. ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2. ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาถูกกว่าในระยะยาว

3. อัตราการรอดชีวิตมากกว่า

ข้อด้อยของการปลูกถ่ายไต

ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตทุกรายจำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต ดังนั้นผู้ป่วยย่อมมีความเสี่ยงที่เกิดจากผลข้างเคียงจากยากดภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นมากกว่าคนปกติทั่วไป เช่น เสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายขึ้นหลังการปลูกถ่ายไต เสี่ยงต่อมะเร็งสูงขึ้นหลังการปลูกถ่ายไต เป็นต้น

ข้อด้อยดังกล่าวมิได้หมายความว่าผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตทุกรายจะต้องติดเชื้อ หรือเป็นมะเร็งตามมาทุกราย หากแต่เพียงมีความเสี่ยงสูงขึ้น

ผู้ป่วยปลูกถ่ายไตทุกรายจะได้รับยาและคำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อ และการตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งที่อาจซ่อนอยู่ ทั้งก่อนและหลังการปลูกถ่ายไต

อย่างไรก็ตาม หากเทียบข้อดีข้อด้อยแล้ว การปลูกถ่ายไตนั้นมีข้อดีมากกว่าข้อด้อยอยู่มาก

สัปดาห์หน้ายังมีเรื่องราวความรู้ของการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายด้วย “การปลูกถ่ายไต” ตอน 2 รอติดตามกันนะครับ

@@@@@

แหล่งข้อมูล

ผศ.นพ.ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล หน่วยศัลยศาสตร์หลอดเลือดและปลูกถ่ายอวัยวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Share

Recent Posts

New York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check Out

New York City is a haven for food lovers, and when it comes to ice… Read More

11 months ago

Explore Montenegro, The Hidden Gem of the Balkans

Montenegro, a hidden gem nestled in the Balkans, offers travelers a captivating experience with its… Read More

11 months ago

Spice Up Your Salad Game With These Tips To Make Salads More Exciting

Salads are a fantastic way to incorporate fresh and nutritious ingredients into our daily meals.… Read More

11 months ago

The Best Travel Destinations For Fitness Enthusiasts

  For fitness enthusiasts seeking to combine their love for travel and physical well-being, there… Read More

11 months ago

What To Do On Your First Visit To Edinburgh

Edinburgh, the capital city of Scotland, is a captivating destination that offers a perfect blend… Read More

12 months ago

Which Are The Consistently Most Popular Starbucks Drinks?

Starbucks has become a global phenomenon, captivating millions of coffee enthusiasts with its diverse menu… Read More

12 months ago