Dyson มองหานักประดิษฐ์ไทยรุ่นใหม่




Dyson เดินหน้าปั้นนักประดิษฐ์ไทย เปิดตัว James Dyson Award ครั้งแรก จัดประกวดแข่งขันออกแบบนวัตกรรมพร้อมผลักดันสู่เวทีโลกและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป

เจมส์ ไดสัน (James Dyson) ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าทีมวิศวกร Dyson บริษัทด้านการวิจัยและเทคโนโลยีจากอังกฤษ ผู้ผลิตไดร์เป่าผมและเครื่องดูดฝุ่นที่กำลังได้รับความนิยมกล่าวว่า รางวัล James Dyson Award ต้องการส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด โดยให้นักประดิษฐ์และนักออกแบบรุ่นใหม่ได้ตั้งคำถามและท้าทายกับสิ่งต่างๆ โดยรางวัลนี้จะให้ความมั่นใจและพื้นที่สําหรับการแก้ปัญหา ซึ่ง 70% ของผู้ชนะในระดับนานาชาติที่ผ่านมาได้สานต่อโครงการและต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ในทางธุรกิจด้วย

ในปี พ.ศ.2565 นี้ James Dyson Award ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกใน 2 ประเทศใหม่นั่นก็คือตุรกีและไทย เหตุผลในการคัดเลือกประเทศเพื่อให้ร่วมการแข่งขัน พิจารณาจาก ประเทศที่สนับสนุนด้านการออกแบบและนวัตกรรม รวมทั้งมีมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาด้านวิศวกรรมและการออกแบบที่แข่งแกร่ง ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไทยมีความโดดเด่นชัดเจน

การแข่งขันออกแบบนวัตกรรมJames Dyson Award จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2548 ภายใต้โจทย์เดิมมาตลอด 17 ปี นั่นคือ “ออกแบบอะไรก็ได้ที่แก้ไขปัญหา” ซึ่งช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จำนวนสิ่งประดิษฐ์จากผู้เข้าแข่งขันทั่วโลกเพิ่มขึ้นสร้างสถิติใหม่ โดยผู้ชนะในระดับประเทศ จะได้เข้าร่วมส่งสิ่งประดิษฐ์เข้าประกวดในระดับนานาชาติ ซึ่งจะถูกคัดเลือกโดยนายเจมส์ ไดสัน โดยตรง หากชนะนอกจากได้รางวัลเป็นเงินหลักล้านบาทแล้ว ยังได้รับโอกาสนำไอเดียไปต่อยอดทางธุรกิจด้วย

ทั้งนี้ รางวัลชนะในระดับนานาชาติภายใต้ James Dyson Award เมื่อปีที่ผ่านมา ได้แก่ รางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติ 2021-HOPES (สิงคโปร์) เครื่องมือตรวจแรงดันในลูกตาที่สามารถช่วยตรวจโรคต้อหินได้ที่บ้านโดยไม่เจ็บปวด ผลงานโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS), รางวัลชนะเลิศด้านความยั่งยืน 2021-Plastic Scanner (เนเธอร์แลนด์) เครื่องมือราคาย่อมเยา ที่สามารถตรวจสอบชนิดของพลาสติกเพื่อการรีไซเคิล ผลงานโดย Jerry de Vos จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Delft (TU Delft) และรางวัลชนะเลิศด้านการแพทย์ 2021-REACT (สหราชอาณาจักร) เครื่องมือที่ช่วยหยุดการไหลของเลือดเพื่อช่วยเหยื่อจากการถูกแทง ผลงานโดย Joseph Bentley จาก Loughborough university

ส่วนรางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติในปี 2020 ได้แก่ The Blue Box (สเปน) ผลงานโดย Judit Giró Benet อายุ 23 ปี เป็นวิธีตรวจสอบมะเร็งเต้านมแบบใหม่ที่ทำได้ที่บ้าน โดยใช้ตัวอย่างปัสสาวะและ AI algorithm, รางวัลชนะเลิศด้านความยั่งยืน 2020-AuREUS System Technology (ฟิลิปปินส์) ผลงานโดย Carvey Ehren Maigue อายุ 27 ปี AuREUS คือวัสดุชนิดใหม่ที่ทำจากขยะทางเกษตรกรรมที่สามารถเปลี่ยนแสง UV ให้กลายเป็นพลังงานได้.

Share

Recent Posts

New York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check Out

New York City is a haven for food lovers, and when it comes to ice… Read More

11 months ago

Explore Montenegro, The Hidden Gem of the Balkans

Montenegro, a hidden gem nestled in the Balkans, offers travelers a captivating experience with its… Read More

11 months ago

Spice Up Your Salad Game With These Tips To Make Salads More Exciting

Salads are a fantastic way to incorporate fresh and nutritious ingredients into our daily meals.… Read More

11 months ago

The Best Travel Destinations For Fitness Enthusiasts

  For fitness enthusiasts seeking to combine their love for travel and physical well-being, there… Read More

11 months ago

What To Do On Your First Visit To Edinburgh

Edinburgh, the capital city of Scotland, is a captivating destination that offers a perfect blend… Read More

12 months ago

Which Are The Consistently Most Popular Starbucks Drinks?

Starbucks has become a global phenomenon, captivating millions of coffee enthusiasts with its diverse menu… Read More

12 months ago