แกะรอย “โอมิครอน” วัคซีนหลายเข็ม..ป้องกันได้จริงหรือ?




งานวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์ ที่สนับสนุนโดยศูนย์ควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐฯหรือ CDC ทำวิจัยในคนอเมริกัน มีข้อมูลน่าสนใจอันหนึ่ง ที่ตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ว่า เพราะเหตุใด คนที่ได้รับวัคซีนในจำนวนโดสสูง เช่น เข็ม 3 หรือเข็ม 4 มีอัตราการเข้าโรงพยาบาลมากขึ้นจากการติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน โดยข้อมูลที่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันไม่ว่าจะเป็นวัคซีน J&J จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน หรือกลุ่ม mRNA อย่างไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา

นักวิจัยตั้งข้อสังเกตไว้น่าสนใจว่า กรณี Omicron การกลายพันธุ์ของ S Protein จะทำให้วัคซีนไม่ได้ผลหรือทำให้เกิด Antibody Dependent Enhancement (ADE) หรือการเร่งโดยอาศัยแอนติบอดี ที่ทำให้เชื้อสามารถเข้าสู่เซลล์ของโฮสต์ได้มากขึ้น เพิ่มจำนวนได้มากขึ้น เหมือนกรณีของการติดเชื้อไข้เลือดออก ที่การป่วยมากกว่าหนึ่งครั้งจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆหรือไม่ และยังมีคำถามต่อไปอีกว่า การฉีดวัคซีนในจำนวนโดสที่มากขึ้น มีผลต่อการติดเชื้อได้มากขึ้นหรือไม่

ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายนักวิจัยและวงการแพทย์ในหลายๆประเทศ ที่พยายามหาคำตอบว่า การฉีดวัคซีนซ้ำๆอาจทำให้เกิด Antibody Dependent Enhancement (ADE) หรือไม่ ซึ่งดูจาก Odds Ratio หรือแต้มต่อความเป็นไปได้ มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่า ยิ่งจำนวนโดสมากขึ้น ยิ่งติดโรคมากขึ้น เป็นข้อมูลจากงานวิจัยที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ติดโอมิครอนสูงในผู้ฉีดวัคซีนมากสูงกว่าในผู้ฉีดวัคซีนน้อย

อย่างไรก็ดี ข้อมูลนี้ได้จากประชากรในงานวิจัยจำนวน 69,279 คน ซึ่งไม่ใช่ประชากรในชุมชนจริงๆ แต่เป็นคนป่วยโควิดทั้งสิ้นคือ ไม่เป็นเดลตา ก็เป็นโอมิครอนอย่างใดก็อย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าจะคำนวณแต้มต่อความเป็นไปได้ ซึ่งต้องใช้ข้อมูลโอกาสป่วยเป็นโอมิครอนหารด้วยโอกาสไม่ป่วย แต่ในการวิจัยนี้คนไม่ป่วยเป็นโอมิครอนก็คือคนเป็นเดลตา จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่า การฉีดวัคซีนมากเข็ม ทำให้โอกาสป่วยรุนแรงสูงขึ้นหรือไม่ หรือมีโอกาสเกิด ADE หรือไม่ คงต้องมีการวิจัยต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งก็น่าจะใช้เวลาหลายปี
เพราะฉะนั้น ถ้าถามว่าการรับวัคซีนที่ในจำนวนโดสสูง ทำให้ป่วยเข้าโรงพยาบาลมากขึ้นจริงหรือไม่ ตอบว่า จริงระดับหนึ่งในขอบเขตข้อจำกัดของค่าแต้มต่อ (odd ratio) ของงานวิจัยครั้งนี้

ส่วนที่ว่าเป็นไปได้หรือไม่ว่ากรณี Omicron การกลายพันธุ์ของ S Protein จะทำให้วัคซีนไม่ได้ผล ตรงนี้ยังไม่มีข้อมูลจริง ซึ่งถ้าจะตอบในเวลานี้ นักวิจัยบอกว่า อะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้น แต่ว่าของจริงจะเป็นอย่างไรต้องตามดูกันต่อไป ข้อมูลที่มีอยู่ในเวลานี้ยังไม่สามารถสรุปได้

สิ่งที่ต้องติดตามขณะนี้คือ ยังไม่มีการตีพิมพ์ผลวิจัยวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโอมิครอนออกมาแม้แต่ชิ้นเดียว มีข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง ก็คือ โอมิครอน แพร่ได้เร็วมาก ข้อมูลของศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐฯ บ่งชี้ว่าโอมิครอนแพร่ได้เร็วกว่าเดลตาถึง 1.6 เท่า ดร.ทิม สเปคเตอร์ แห่งองค์กร ZOE ซึ่งทำฐานข้อมูลดีที่สุดในโลกในเรื่องโควิดให้ข้อมูลว่า 69% ของคนติดเชื้อโควิดในอังกฤษตอนนี้เป็นโอมิครอน และประมาณการจากฐานข้อมูล ZOE ว่าทุก 2 คนที่เป็นหวัดในอังกฤษตอนนี้ 1 คนใน 2 คนนั้นเป็นผู้ติดเชื้อโอมิครอน คือ มากเท่ากับหวัดหารสอง ส่วนในสหรัฐอเมริกาเองตอนนี้โอมิครอน ครองแชมป์ไปเรียบร้อย ประมาณว่าภายในสิ้นเดือน ม.ค.นี้จะแพร่ไปทั่วทุกหัวระแหงของอเมริกา

อีกข้อมูลหนึ่ง คือ โอมิครอนเล็ดลอดภูมิคุ้มกันได้มาก หรือพูดแบบบ้านๆก็คือ ดื้อวัคซีน ข้อมูลของ CDC พบว่า โอมิครอนไม่สนองตอบต่อวัคซีนได้สูงถึง 43% ข้อมูลจากการให้ข่าวทั้งแอฟริกา อิสราเอล เนเธอร์แลนด์ ล้วนบ่งชี้ว่าผู้ป่วยฉีดวัคซีนสามเข็มก็ยังติดเชื้อโอมิครอนได้ กลไกที่มันดื้อนี้ก็ทราบกันดี แล้วว่า วัคซีนที่นิยมกันทุกวันนี้นั้นออกแบบให้มุ่งทำลาย spike protein แต่ว่าเชื้อสายพันธ์ุ์โอมิ ครอนนี้เปลี่ยนส่วน spike protein ของมันไปมากที่สุดจนไม่เหมือนวัคซีนเสียแล้ว

อีกประเด็นที่นักวิจัยค้นพบคือ ไม่มีวัคซีนไหนในขณะนี้จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ต่อโอมิครอนได้ เพราะวัคซีนที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ต่อเชื้อแบบนี้ได้ต้องเป็นวัคซีนที่นอกจากจะถูกรับเข้าร่างกายแล้วออกฤทธิ์ (uptake) ได้เร็วมากแล้ว ยังต้องมีประสิทธิผลระดับ 100% ด้วย ซึ่งขณะนี้ไม่มีวัคซีนแบบนั้น ในแง่ข้อมูลทางคลินิก งานวิจัยขนาดเล็กที่มหาวิทยาลัยโอเรกอนเฮลท์ไซน์ ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA พบว่าการติดเชื้อจริงหลังได้วัคซีน (breakthrough infection) ให้ระดับภูมิคุ้มกันสูงว่าการฉีดวัคซีนบูสต์เตอร์ (เข็มสาม) ถึง 10 เท่า

ซึ่งข้อมูลที่ชัดเจนที่สุดคือ นับถึงวันนี้ยังไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าการฉีดวัคซีนโควิดเข็มสามจะลดอัตราตายจากโรคโควิดลงได้ และองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ไม่ได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มสามยกเว้นในคนไข้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunocompromised) ที่วัคซีนสองเข็มแรกยังกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ไม่มากพอ.

Share

Recent Posts

New York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check Out

New York City is a haven for food lovers, and when it comes to ice… Read More

11 months ago

Explore Montenegro, The Hidden Gem of the Balkans

Montenegro, a hidden gem nestled in the Balkans, offers travelers a captivating experience with its… Read More

11 months ago

Spice Up Your Salad Game With These Tips To Make Salads More Exciting

Salads are a fantastic way to incorporate fresh and nutritious ingredients into our daily meals.… Read More

11 months ago

The Best Travel Destinations For Fitness Enthusiasts

  For fitness enthusiasts seeking to combine their love for travel and physical well-being, there… Read More

11 months ago

What To Do On Your First Visit To Edinburgh

Edinburgh, the capital city of Scotland, is a captivating destination that offers a perfect blend… Read More

12 months ago

Which Are The Consistently Most Popular Starbucks Drinks?

Starbucks has become a global phenomenon, captivating millions of coffee enthusiasts with its diverse menu… Read More

12 months ago